เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information
Technology: IT) หมายถึง
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้นเทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน
ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ
ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร
เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์
นิตยสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
คือ เทคโนโลยีในการจัดหาและได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ ตลอดจนการสร้างสรรค์ จัดเก็บ
แสดงผล แลกเปลี่ยน เผยแพร่และจัดการข้อมูลในรูปแบบเสียง ภาพ
ข้อความหรือตัวเลขด้วยการใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
Information Technology หรือ
IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ
ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ
เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ
รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน
ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High
Technology)
กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ
ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล
และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น
การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น
IT
Audit
ทำไม..ต้องมี
IT
Audit
เข้ามาเกี่ยวข้องในการตรวจสอบบัญชี
ปัจจุบันในยุค
4.0
หลายท่านคงได้ทราบข่าวกันมาบ้างแล้วว่า การใช้งานระบบ IT มีผลดีต่อธุรกิจ แต่ก็ต้องยอมรับว่า IT ก็มีความเสี่ยงต่อธุรกิจเช่นกัน
ดังนั้นจึงต้องมีระบบควบคุมรักษาความปลอดภัย รวมถึง มี IT Audit ที่วางใจได้
ในปีที่ผ่านมามีระบบ IT
ของหลายองค์กรถูกคุกคาม บุกรุกเข้าไปในระบบ
เข้าไปทำให้ระบบใช้งานไม่ได้บ้าง
เข้าไปเปลี่ยนแปลงโปรแกรมและแก้ไขข้อมูลทางด้านการเงินจนสร้างความเสียหายให้กับองค์กรเป็นจำนวนหลายสิบล้านบาท
หรือทำการบุกรุกเพื่อโจรกรรมข้อมูล ลักลอบดักฟังข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร
ยิ่งนับวันความเสี่ยงด้าน IT ก็ยิ่งพัฒนาเพิ่มมากขึ้น
จึงมีความจำเป็นที่แต่ละองค์กรจะต้องมีระบบควบคุมและรักษาความปลอดภัยที่ดี
เพื่อหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงต่าง ๆ
เนื่องจากข้อมูลบัญชีและการเงินของแต่ละองค์กรส่วนใหญ่ต่างก็อยู่บนระบบ
IT
โดยผู้ดูแลระบบอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี หรือเจ้าหน้าที่ IT
โดยมักไม่ค่อยมีความชำนาญในการควบคุมดูแลรักษาข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน
เนื่องจากขาดความเข้าใจในการควบคุมภายในที่มีระบบ ระเบียบซับซ้อน
ดังนั้นในการตรวจสอบบัญชีจึงต้องอาศัยบทบาทของผู้ตรวจสอบ IT เข้ามาช่วยประเมินและควบคุมความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานหรือองค์กร
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลต่อฝ่ายบริหารในการจัดการ ควบคุม และการรักษา
ความปลอดภัยที่ดี
ความปลอดภัย
มีมาตรฐานการป้องกันผู้บุกรุกจากภายนอก มีระบบป้องกันความปลอดภัยของData Center
หรือ Data Warehouse และการออกแบบระบบปฏิบัติการที่มีความเหมาะสมหรือตรวจสอบด้าน IT Governance และตรวจสอบเพื่อสนับสนุนการตรวจสอบทางการเงินด้วย
โดยการตรวจสอบการเงินจะตรวจสอบการควบคุมที่สำคัญแบบ Manual การตรวจสอบ
IT จะตรวจสอบการควบคุมที่สำคัญแบบ Automated
ถ้าให้กล่าวถึงคุณสมบัติหรือบทบาท
หน้าที่ที่ IT
Auditor ทุกคนต้องมีในแบบสรุปเลยก็คือ
1.ตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามหลักการบริหารความเสี่ยงยุคใหม่ได้สอดคล้องตามมาตรฐานและเทคนิคการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารทุกระดับได้
2.
วางแผนการตรวจสอบ
ตามหลักการบริหารความเสี่ยงทั่วไปและทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างมั่นใจ
3.
เข้าใจและสื่อสาร
ความหมายของกระบวนการทำงานเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ให้กับบุคคลอื่น
การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกปี
แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าหน่วยงานจะสามารถคืนทุนจากการลงทุนนี้รวมทั้งได้กำไรจากการใช้จ่ายหรือการลงทุนปริมาณมากในเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานต่างๆ ไม่สามารถที่จะระบุจำนวนเงินที่เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างให้ได้รวมทั้งก็ไม่สามารถระบุปริมาณค่าใช้จ่ายที่ลดลงเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เช่นกันส่วนมากทุกคนจะยอมรับว่าเทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาช่วยให้การทำงานมี
ระบบสารสนเทศที่ดีและคุ้มค่าต้องมีการตรวจสอบ
ประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะลดเวลาในการทำงานและลดปัญหาบางอย่างในการทำงาน
แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีการจัดเก็บหรือรวบรวมระยะเวลาในการทำงานในแต่ละช่วงของกระบวนการทำงาน
ทำให้ไม่สามารถระบุเวลาทำงานที่ลดไปหลังจากนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
นอกจากนี้
แม้ระบบสารสนเทศจะสามารถลดปัญหาการทำงานบางอย่างได้ เนื่องจากระบบสารสนเทศจะสามารถสนับสนุนการทำงานบางอย่างได้เท่านั้น
ไม่สามารถนำมาทดแทนการทำงานทั้งกระบวนการของคนได้ทั้งหมด
จึงยังคงต้องมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงานอยู่
โดยเฉพาะส่วนที่ต้องตัดสินใจปัญหาซึ่งเกี่ยวกับการข้อจำกัดของคนหรือความบกพร่องตามศักยภาพของบุคคลจึงไม่สามารถจะทำให้ลดลงด้วยระบบสารสนเทศที่นำมาใช้
อีกประเด็นที่ต้องพิจารณาคือในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จะมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเอง
แม้ว่าราคาเทคโนโลยีสารสนเทศจะลดลงมาอย่างมากแล้วก็ตามในปัจจุบัน
แต่ปรากฏว่าค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษากลับมีราคาสูงขึ้น
ไม่รวมถึงหากมีการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีจากเก่าไปใหม่
จะมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนถ่ายที่สูงมากเลยทีเดียว
การจัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศเป็นเวลากว่า 5 ปีตามกฎหมายทำให้ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีสารสนเทศสูงมากจากประเด็นต่าง
ๆ ที่ระบุข้างต้น จะพบว่าการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้งานในระดับ automation
หรือนำมาสนับสนุนการทำงานโดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ
หรือพฤติกรรมการทำงาน รวมถึงกฎระเบียบ สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ไม่สามารถคืนทุนหรือสร้างกำไรจากการลงทุนได้
ยิ่งหากไม่มีการวางแผนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานในองค์การให้ดี
จะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการลงทุนซ้ำซ้อน การมีข้อมูลที่ผิดปกติ ซ้ำซ้อน
และขัดแย้งกัน
ซึ่งไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างเป็นสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ
หรือไม่สามารถนำไปใช้หาองค์ความรู้ เพื่อสร้างศักยภาพหรือยุทธศาสตร์ในการแข่งขันทางธุรกิจได้
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการทำงานในองค์การ
จึงต้องวิเคราะห์ตั้งแต่พันธ์กิจขององค์การ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจขององค์การตั้งแต่ภายในและภายนอก
การทำความเข้าใจและการกำหนดยุทธศาสตร์ทางธุรกิจขององค์การ กิจกรรมหลักแห่งความสำเร็จเพื่อให้ได้ยุทธศาสตร์ที่วางไว้
ตัวบ่งชี้หรือ key performance indexes ขององค์การและการระบุเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์
รวมทั้งกลยุทธ์ทางธุรกิจและแผนงานต่าง ๆ
ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่องค์การได้วางไว้
สุดท้ายถึงจะสามารถระบุเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับองค์การนั้น
ๆ ได้
จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้นี้จะสอดคล้องกับกระบวนการทำงานขององค์การที่จะต้องมีหลายหน่วยงานย่อยภายในเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ลุล่วง
ระบบสารสนเทศเหล่านี้จึงไม่มีหน่วยงานภายในหน่วยงานเดียวเป็นเจ้าของ
เพียงแต่แต่ละหน่วยงานจะมีอำนาจในการจัดการข้อมูลที่จะจัดเก็บลงในฐานข้อมูลต่างกันตามภาระรับผิดชอบทีถูกกำหนดไว้ในภารกิจและโครงสร้างองค์การ
ข้อมูลจึงเป็นทรัพยากรของส่วนรวม ไม่เกิดการซ้ำซ้อน ไม่เกิดความผิดปกติ ครบถ้วน
เพราะแต่ละหน่วยงานภายในจะรับผิดชอบจัดเก็บ แก้ไข ข้อมูลในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ
ทำให้เนื้อที่ในการจัดเก็บน้อยลง ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบฐานข้อมูล ข้อมูลที่ดี
ครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้อง จะสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ให้เกิดสารสนเทศ
และองค์ความรู้ให้กับองค์การต่อไป ซึ่งถือเป็นการสร้างมูลค่าโดยอาจจะเป็นการสร้างรายได้ทางอ้อมให้กับองค์การนั้นๆ
หรืออาจจะนำมาใช้ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็อาจเป็นได้เช่นกันเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศ
การตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Auditing) จึงมีความสำคัญในการที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าองค์การมีระบบสารสนเทศที่ถูกต้อง
เป็นประโยชน์ สอดคล้องกับพันธ์กิจ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ขององค์การ
โดยระบบสารสนเทศจะต้องสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง
เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ต่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันขององค์การ
ทั้งนี้จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูลที่ดี
เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้คือทรัพยากรที่สำคัญสำหรับอนาคตขององค์การ
และใช้ในการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจหากสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้
ระบบสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ servers
ฐานข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์
จะต้องมีศักยภาพที่สอดคล้องกับการใช้งานเช่นกัน การดูแลบำรุงรักษา
การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต การแก้ไขในกรณีเกิดปัญหาและวิกฤต
เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
ดังนั้นการตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
ผู้ตรวจสอบจึงต้องเข้าใจตั้งแต่การบริหารและการจัดการธุรกิจ กระบวนการทำงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างองค์ความรู้ กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
และสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน
การตรวจสอบคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น
2 ประเภท คือ การตรวจสอบกิจกรรม หรือการดำเนินงานของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
และการตรวจสอบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
1. การตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (General Control)
เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการควบคุมภายในทั่วไป
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระเบียบ ข้อบังคับ
และเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานคอมพิวเตอร์และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
มีหัวข้อการตรวจสอบดังนี้
1.1
การตรวจสอบภายในและการสอบบัญชี
เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี
ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายบริหาร
และผู้ถือหุ้นให้เป็นผู้ดำเนินการจัดระบบควบคุมภายในและตรวจสอบ
มีขอบเขตการปฏิบัติงานครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ เพียงพอหรือไม่
และเชื่อถือได้เพียงใด
1.2
การจัดการเป็นการตรวจสอบเพื่อพิจารณาถึงความสามารถในการบริหารงานคอมพิวเตอร์
ความเหมาะสมในการแบ่งแยกหน้าที่การจัดสายการบังคับบัญชาและการรายงานผลการปฏิบัติงาน
1.3
การพัฒนาระบบงานและโปรแกรม เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบงานและโปรแกรม
การแก้ไขระบบงานและโปรแกรม และความสมบูรณ์ของเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน
1.4
การปฏิบัติงานข้อมูลเป็นการตรวจสอบงานเตรียมข้อมูลการกระทบยอดข้อมูล
และการจัดส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ข้อมูลเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลว่ามีความถูกต้อง
ครบถ้วนและเชื่อถือได้เพียงใด
1.5
การปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจสอบการปฏิบัติงานภายในห้องคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บแฟ้มข้อมูล การรักษาความปลอดภัย
การจัดระบบสำรองเตรียมไว้ทดแทนยามฉุกเฉิน
1.6 การสื่อสารข้อมูล
(กรณีใช้ Hardware และ/หรือ Software ร่วมกันหลายระบบงาน)
เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ประมวลผลผ่านระบบสื่อสาร
1.7
การใช้บริการคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นภายนอกกิจการ
กรณีไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง ควรมีการตรวจสอบสัญญาการใช้บริการ
การคิดค่าบริการฐานะและการดำเนินงานของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์
นอกเหนือจากการตรวจสอบตามหัวข้อที่กล่าวมาแล้วด้วย
เพื่อป้องกันธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ต้องหยุดชะงัก
หากศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติด้วยเหตุใดก็ตาม
2.
การตรวจสอบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล (Application Controls) เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการควบคุมภายในเฉพาะงาน
ซึ่งผู้ตรวจสอบจะสัมผัสกับรายการข้อมูลทุกรูปแบบ
ในแต่ละระบบมากกว่าการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
มีหัวข้อการตรวจสอบดังนี้
2.1
แหล่งกำเนิดรายการหรือแหล่งที่มาของรายการเป็นการตรวจสอบ
– การจัดทำเอกสารขั้นต้น
หรือเอกสารประกอบรายการ
– การอนุมัติรายการ
– การเตรียมข้อมูลนำเข้า
– การเก็บรักษาเอกสารขั้นต้น
– การแก้ไขเอกสารที่มีข้อผิดพลาด
2.2
การทำรายการป้อนเข้าสู่ระบบงาน เป็นการตรวจสอบ
– การทำรายการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบงาน
ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธีคือ Terminal Data Entry และ Batch
Data Entry
– หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมการทำรายการ
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน
– การแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำรายการป้อนเข้าสู่ระบบงาน
2.3
การสื่อสารข้อมูล เป็นการตรวจสอบทางเดินของข้อมูลที่ผ่านระบบสื่อสาร
ซึ่งประกอบด้วย
– การใช้เครื่อง
Terminal ส่งข้อมูลหรือข่าวสาร ป้อนเข้าสู่ระบบงาน
– การเคลื่อนย้ายข้อมูลในระบบสื่อสาร
ซึ่งต้องอาศัย Hardware และ Software ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูล
– การบันทึกรายละเอียดในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่อง
Terminal กับ CPU ไว้ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์
2.4
การประมวลผล ได้แก่ การตรวจสอบ
– ความเคลื่อนไหว
หรือทางเดินของข้อมูลที่ประมวลผลในแต่ละโปรแกรมหรือระบบงาน
เพื่อพิจารณาว่าการประมวลผลทุกขั้นตอนมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้เพียงใด
– การกำหนดจุดตั้งต้นในแต่ละขั้นตอนของการประมวลผล
และการแก้ไขสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง
– ความถูกต้องแม่นยำของโปรแกรมที่ใช้ประมวล
– การปฏิบัติงานของพนักงานคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างดำเนินการประมวลผล
– การมอบอำนาจปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยในการดำเนินการประมวลผล
– การแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการประมวลผล
2.5
การเก็บรักษาข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้งาน เป็นการตรวจสอบ
– การบันทึกข้อมูลใหม่ลงในแฟ้มข้อมูล
– การตัดยอดรายการและหรือแฟ้มข้อมูล
ตามวันหรือเวลาที่กำหนดไว้ในระบบงาน
เพื่อให้รายการข้อมูลที่ประมวลผลสอดคล้องกับการจัดทำงบการเงิน
– การมอบอำนาจปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
– การแก้ไขข้อผิดพลาดในการบำรุงรักษาแฟ้มข้อมูล
และการใช้แฟ้มข้อมูล
2.6
ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เป็นการตรวจสอบ
– การกระทบยอดข้อมูล
– การจัดส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้ข้อมูล
– การจัดทำทะเบียนคุมเอกสารสำคัญทางการเงิน
– การเก็บรักษาข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล
– การแก้ไขข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่ผิดพลาด
คุณสมบัติหรือบทบาท หน้าที่ที่ IT
Auditor
1.
ตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามหลักการบริหารความเสี่ยงยุคใหม่ได้สอดคล้องตามมาตรฐานและเทคนิคการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารทุกระดับได้
2. วางแผนการตรวจสอบ
ตามหลักการบริหารความเสี่ยงทั่วไปและทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างมั่นใจ
3. เข้าใจและสื่อสาร
ความหมายของกระบวนการทำงานเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ให้กับบุคคลอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น